อุบัติเหตุจากสารเคมี
สารพิษ สารเคมีที่เข้าสู่ร่างกายหรือสัมผัสส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายแม้เพียงจำนวนเล็กน้อยทำให้เกิดอันตรายได้ หรืออาจถึงแก่ชีวิตได้ เช่น ยาฆ่าแมลง น้ำด่าง น้ำกรด สารที่ใช้ทำความสะอาดต่าง ๆ และรวมทั้งอาหารและพืชผักที่ปนเปื้อนด้วยสารมีพิษ
การเข้าสู่ร่างกายของสารมีพิษ ได้ 3 ทาง
- ทางปาก การกินเข้าไป
- ทางจมูก การหายใจเอาสารพิษที่ระเหยหรือเป็นฝุ่นละอองเข้าไป
- ทางผิวหนัง การสัมผัสกับสารพิษทางผิวหนัง หรือการฉีดสารมีพิษเข้าทางกล้ามเนื้อหรือเส้นเลือด
สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุจากสารมีพิษ
อุบัติเหตุจากสารพิษอาจเกิดขึ้นได้จากสาเหตุต่าง ๆ ดังนี้
1. ความประมาทเลินเล่อ ทำให้เกิดการหยิบผิด เช่น การหยิบยา
2. ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ จากความไม่รู้
3. การจัดเก็บสารเคมี cctv หรือสารมีพิษต่าง ๆ โดยขาดความเป็นระเบียบ รอบคอบ เช่น อาจจะวางรวมกับของกิน และไม่มีฉลากบอกอย่างละเอียด
วิธีป้องกันอันตรายจากสารมีพิษ
การป้องกันอันตรายจากสารมีพิษนั้น ควรปฏิบัติดังนี้
1. ก่อนใช้ยาหรือสารเคมีใด ๆ ควรอ่านฉลากและวิธีการใช้ให้เข้าใจอย่างถูกต้องเสียก่อน
2. ไม่ควรหยิบยาหรือสารเคมีมาใช้ ขณะเมาสุรา
3. ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับอันตรายและวิธีป้องกันอุบัติเหตุเกี่ยวกับสารมีพิษ
4. เก็บสารมีพิษไว้ในตู้ให้มิดชิด ให้พ้นมือเด็ก และปิดฉลากให้เรียบร้อยถึงวิธีการใช้สารมีพิษนั้นด้วย
5. การใช้ยากันยุง ถ้าจำเป็นควรใช้ในห้องที่มีการระบายอากาศดี หรือในขณะที่ไม่มีคนอยู่ในห้อง
วิธีปฏิบัติเมื่อถูกสารมีพิษ
1. เมื่อสารมีพิษเข้าทางปาก ควรทำให้อาเจียน ให้ดื่มน้ำอุ่นมาก ๆ รีบทำให้ร่างกายอบอุ่น แล้วรีบนำส่งโรงพยาบาล ถ้าผู้ป่วยหมดสติให้ช่วยเป่าลมเข้าทางปากหรือจมูก แล้วนำส่งโรงพยาบาล
2. เมื่อสารมีพิษเข้าทางจมูก ควรนำผู้ป่วยออกจากบริเวณที่มีสารพิษ ช่วยให้หายใจได้สะดวก และให้ดมยาดมที่มีกลิ่นฉุนเพื่อกระตุ้นการหายใจ
3. เมื่อมีสารพิษเข้าทางผิวหนัง ควรรีบล้างน้ำสะอาดออกทันทีและนาน ๆ แล้วล้างด้วยสารละลายเช่นโซเดียมไบคาร์บอเนต หรือน้ำละลายกรดน้ำส้ม ถ้าเข้าตาต้องรีบล้างด้วยน้ำสะอาดและลืมตาในน้ำสะอาดนาน ๆ แล้วรีบพบแพทย์ทันที
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น