2.5.ธาตุแทรนซิชัน

ธาตุแทรนซิชัน(Transition  elements)

 

ธาตุแทรนซิชัน  คือ  กลุ่มธาตุที่อยู่ระหว่างหมู่  IIA  กับ  IIIA ซึ่งก็คือธาตุหมู่  B ทั้งหมด  ประกอบด้วยหมู่ IB – VIIIB  รวมทั้ง อินเนอร์แทรนซิชัน  ได้แก่  กลุ่มแลนทาไนด์  และกลุ่มแอกทิไนด์

ธาตุแทรนซิชัน  เป็นธาตุที่ใช้อิเล็กตรอนในระดับพลังงานย่อย ในการเกิดพันธะ   ยกเว้นธาตุหมู่  2B  ที่ใช้อิเล็กตรอนในระดับพลังงานย่อย  s  ในการเกิดพันธะ

ธาตุแทรนซิชันในคาบที่ 4 ได้แก่  Sc , Ti , V , Cr , Mn , Fe , Co , Ni , Cu , Zn


สมบัติของธาตุแทรนซิชัน

การจัดอิเล็กตรอนของธาตุแทรนซิชัน


การจัดอิเล็กตรอนของ  Cr  และ  Cu  (Electron configurations of Cr andCu)


สรุปได้ดังนี้
    1. ธาตุแทรนซิชันทุกธาตุเป็นโลหะ มีจุดเดือดและจุดหลอมเหลวสูงเพราะมีพันธะโลหะ
    2.  ความหนาแน่นมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเมื่อเลขอะตอมเพิ่มขึ้น
    3.  มีอิเล็กตรอนวงนอกสุด (valence e-เท่ากับ  2  ยกเว้น  Cr  และ  Cu  เท่ากับ  1 
    4.  อิเล็กตรอนถัดจากวงนอกสุดเข้ามาหนึ่งระดับพลังงาน ไม่ครบ  18  ยกเว้น  Cu  และ  Zn 
    5.  มีเลขออกซิเดชันได้มากกว่า ค่า  ยกเว้นหมู่  2B (Zn , Cd) เป็น  +2  ค่าเดียว  และหมู่  3B (Sc)                    0  เป็น +3  ค่าเดียว  ดังตาราง


เลขออกซิเดชันของธาตุแทรนซิชัน



สารประกอบของธาตุแทรนซิชัน

               ธาตุแทรนซิชันสามารถทำปฏิกิริยาเกิดสารประกอบต่าง ๆ ได้หลายชนิด  เนื่องจากธาตุแทรนซิชันมีค่าเลขออกซิเดชันหลายค่า  และให้สีของสารประกอบแตกต่างกัน  เช่น  MnO2 มีสีดำ ,KMnO4  มีสีม่วงแดง  และ  K2MnO4  มีสีเขียว
       และโดยทั่วไปธาตุแทรนซิชันสามารถเกิดสารประกอบเชิงซ้อน  และไอออนเชิงซ้อนได้ง่าย


สีของสารประกอบของโครเมียมและแมงกานีสในน้ำ
 *ไม่ละลายน้ำ
สารประกอบของธาตุแทรนซิชันแบ่งได้ ประเภท คือ
1.  สารประกอบไอออนิก (ionic compounds)
          ไอออนบวกของโลหะแทรนซิชัน อโลหะไอออนลบหรือกลุ่มไอออนลบ
     เช่น    CuSO4    คอปเปอร์ (II) ซัลเฟต
              FeCl2    ไอร์ออน (II)  คลอไรด์
              Fe2O3    ไอร์ออน (III)  ออกไซด์
2.  สารประกอบเชิงซ้อน (complex compounds คือ สารประกอบที่มีไอออนเชิงซ้อนเป็นองค์ประกอบ   มีลักษณะดังนี้
                   ไอออนเชิงซ้อนบวก ไอออนลบ
          หรือ    ไอออนบวก  +  ไอออนเชิงซ้อนลบ
          หรือ    ไอออนเชิงซ้อนบวก  ไอออนเชิงซ้อนลบ

เช่น     KMnO4    หรือ       K+      [MnO4–   

ไอออนบวก     +    ไอออนเชิงซ้อนลบ    =    สารประกอบเชิงซ้อน 

ไอออนเชิงซ้อน  ประกอบด้วยอะตอมหรือไอออนของโลหะแทรนซิชันทำหน้าที่เป็นธาตุอะตอมกลาง (central atom) โดยมีกลุ่มของไอออนหรือโมเลกุลที่เรียกว่า ลิแกนด์ (ligand) มาล้อมรอบอะตอมกลางด้วยพันธะโคออร์ดิเนตโคเวเลนต์
   O             -
Mn
O       O      O

สารประกอบเชิงซ้อนของธาตุแทรนซิชัน
          * โลหะแทรนซิชันมีโครงสร้างทางอิเล็กตรอนที่แตกต่างไปจากโลหะหมู่ที่ IA และหมู่ IIA คือสามารถรวมกับไอออน  หรือหมู่ไอออน โมเลกุลหรือสารบางชนิดที่มีอิเล็กตรอนคู่ว่างอยู่ เกิดเป็นสารประกอบโคเวเลนต์ที่เรียกว่า สารประกอบโคออดิเนชันหรือสารประกอบเชิงซ้อน (Complex  Compound)

          สารประกอบเชิงซ้อน  คือ  สารประกอบที่มีไอออนเชิงซ้อนเป็นองค์ประกอบอยู่ด้วย  ส่วนมากเกิดกับ   ธาตุแทรนซิชัน  ไอออนเชิงซ้อน  คือ  สารที่เกิดจากไอออนลบ  (anions)  หรือโมเลกุลที่เป็นกลางไม่มีประจุจำนวนหนึ่ง  หรือมากกว่านั้นมาสร้างพันธะเคมีกับไอออนกลางของโลหะ  เช่น  Cu(NH3)42+, ไอออนเชิงซ้อนมี  2  ชนิดคือ  ไอออนเชิงซ้อนที่เป็นไอออนบวก  และไอออนลบ

                                               

อะตอมกลางหรือไอออนกลาง (Central  atom  ion)  คือ  อะตอมของธาตุที่อยู่แกนกลางของสารเชิงซ้อน  ส่วนมาก  ได้แก่  โลหะแทรนซิชัน

ลิแกนด์  คือ  ไอออนหรือโมเลกุลที่ล้อมรอบอะตอมกลางหรือไอออนกลาง  สารพวกนี้เป็นสารที่มีอะตอมของธาตุที่มีอิเล็กตรอนคู่อิสระอยู่  เช่น  F-, Br-, OH-, SCN-, S2-,CO, NH3, H2O  เป็นต้น

พันธะระหว่างลิแกนด์  และโลหะแทรนซิชันที่อยู่กลางในสารเชิงซ้อนเป็นพันธะโคเวเลนต์  และจำนวนลิแกนด์ที่ล้อมรอบโลหะแทรนซิชันที่อยู่กลาง  เรียกว่า  เลขโคออร์ดิเนชัน  และเลขโคออร์ดิเนชันเป็นเท่าใดนั้นขึ้นอยู่กับชนิดของธาตุแทรนซิชัน  เลขออกซิเดชันของโลหะแทรนซิชัน  และชนิดของลิแกนด์ด้วย


สีของสารประกอบเชิงซ้อน

 



 

          การเรียกชื่อสารประกอบเชิงซ้อน
ลิแกนด์เป็นไอออน                                  ลิแกนด์เป็นกลาง

อะตอมกลางลกด์ป็นไ 

Coordination Number

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

12 สารเคมีในบ้านที่เราควรหลีกเลี่ยง

$ข่าวสารเคมี ความรู้เคมี$ #11      ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่เราใช้อยู่ในครัวเรือนนั้น มีส่วนผสมของสารเคมี ซึ่งก่อให้เกิดผลร้ายต่อสุขภาพ ...